13/02/2013

ถนนที่ปูด้วยพลาสติก




New paving process using recycled plastic

เมือง Vancouver ในประเทศ Canada ประกาศใช้พลาสติกรีไซเคิลผสมในยางมะตอยเพื่อปูและซ่อมแซมถนน พลาสติกรีไซเคิลที่นำไปผสมกับยางมะตอยด้วยอัตราส่วน 1% ได้มาจากขวดพลาสติกใส่น้ำรีไซเคิลและถ้วยใส่โยเกิร์ต พลาสติกรีไซเคิลนี้จะทำหน้าที่เหมือนสารเติมแต่งเพื่อใช้แทนขี้ผึ้งที่ผลิตจากพืช ขณะนี้กระบวนการผสมพลาสติกรีไซเคิลมีค่าใช้จ่ายประมาณสามเท่าของกระบวนการซ่อมแซมถนนทั่วไป แต่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เนื่องจากใช้ความร้อนในกระบวนการน้อยลง โดยกระบวนการนี้จะใช้เชื้อเพลิงน้อยลง 20% เมื่อเทียบกับการใช้ยางมะตอยแบบปกติ ซึ่งจะส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศลดลง การผสมนี้ยังสามารถใช้ทำถนนที่อุณหภูมิต่ำได้ ซึ่งกระบวนการลาดยางมะตอยแบบเดิมๆไม่สามารถทำได้
 
Peter Judd ผู้จัดการทั่วไปด้านบริการเชิงวิศวกรรมของเมือง Vancouver คาดการณ์ว่าการใช้ยางมะตอยผสมพลาสติกรีไซเคิลนี้ต้องใช้พลาสติกประมาณ 70 ตันและสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 300 ตันในทุกๆปี กระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่จะทำให้เมือง Vancouver เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดภายในปี 2563


Streets paved with plastic

The city of Vancouver, in Canada, has just announced that it uses recycled plastics in the asphalt used to pave and repair its roads. 
The recycled plastic, which currently accounts for 1% of this hybrid asphalt mix, comes from recycled water bottles and yoghurt pots, among others. It acts as an additive, replacing traditional vegetable-based waxes. The process currently costs about three times as much as conventional methods but will enable long-term savings further down the line: it requires less heat for mixing and placement, and it uses approximately 20% less fuel than a traditional asphalt mix, which leads to reduced greenhouse gas emissions. This mix can also be applied to roads at lower temperatures, which just isn't possible with the traditional mix.
Vancouver City's engineering services general manager Peter Judd estimated that if the city were to use this mix for all of its asphalt works, it would use approximately 70 tonnes of plastic and would save about 300 tonnes in greenhouse gases every year. This initiative comes as part of a wider goal for the City of Vancouver: to become the world's greenest city by 2020.

No comments:

Post a Comment